วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย

  • ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง ชวนชม ชินะตังกูร และ เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์
Keywords: ประสิทธิผลโรงเรียน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, สมรรถนะองค์การ

ABSTRACT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และประสิทธิผลของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างตัวแปรปัจจัย 3) เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากตัวแปรปัจจัย และ 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลาง ผู้ตอบแบบสอบ คือ ผู้อำนวยการ, ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน ภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 567 คนในช่วงระหว่างกันยายนถึงพฤศจิกายน 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ข้อค้นพบจากการวิจัย 1) ภาวะผู้นำ สมรรถนะองค์การ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และประสิทธิผลของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.35, p<.01) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.35, p<.01) และสมรรถนะขององค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=.19, p<.01) ภาวะผู้นำไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (ß=1.029, p=.303) แต่ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียน (ß=.60, p<.01) ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน (ß=.19, p<.01) ผ่านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (ß=.24, p<.01) และผ่านสมรรถนะขององค์การ (ß=.16, p<.01) 3) รูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 62 และ 4) รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโรงเรียนผ่านปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นเพื่อยกระดับประสิทธิผลโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้เป็นสำคัญ

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง ชวนชม ชินะตังกูร และ เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2554) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางขอ'ประเทศไทย วารสารวิจัย มสด สถาบันวิจัยและพัมนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  หน้า 95-112DVol. 10 No. 3: September - December 2014U Res. J. 10 (3): Sep-DecSDU ReSDU Res. J. 10 (3): Sep-Decs. J. 10 (3): Sep-Dec

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น